เผยเชียนเปิดดูกระทู้ต่างๆ โดยเฉพาะกระทู้ที่เป็นสังเวียนประชันอารมณ์ระหว่างแฟนหนังและแอนตี้ที่เรียกได้ว่ากลายเป็นศพเกลื่อนไปหมด
แถม ‘ศพ’ พวกนี้ก็ไม่ได้ตายในศึกอันดุเดือด แต่โดนขุดขึ้นมาจาก ‘หลุม’
“ไหนว่าชาวต่างชาติก็ไม่น่าจะชอบหนังเรื่องนี้เหมือนชาวจีน อ๋อ คานส์ไม่ได้จัดโดยชาวต่างชาตินี่เนอะ”
“พวกแอนตี้ไม่รับคานส์เป็นชาวต่างชาติ ฉันว่าประเทศเราควรรับคานส์ที่กลายเป็นคนไร้บ้านมา แต่งตั้งให้เป็นส่วนหนึ่งของจิงโจว แล้วเปลี่ยนชื่องานเป็นเทศกาลหนังเถิงต๋าแทน”
“เทศกาลหนังเถิงต๋าเหรอ นี่จะบอกว่าเถิงต๋ารวยมากจนยัดเงินให้กรรมการได้เลยเหรอ ยินดีด้วยที่รู้ความจริงสักที! (ประชด)”
“หนังเรื่องนี้เป็นกระแสเพราะการตลาดจริงๆ ด้วย กระแสหนังในต่างประเทศไม่ดีพอก็เลยไปรับรางวัลที่คานส์แม่งเลย กลยุทธ์การตลาดสุดยอดอะไรเบอร์นั้น! (ประชด)”
“แบบนี้ค่อยดูเหมือนวันพรุ่งนี้ที่สดใสปล่อยได้ถูกช่วงจริงๆ ถ้าปล่อยได้จังหวะเหมาะกว่านี้คงขโมยรางวัลจากหนังดังอื่นๆ จนหมด”
“หนังใหญ่ทุนสร้างสูงคงกำลังฉลองกันยกใหญ่ที่ไม่ปล่อยออกฉายพร้อมวันพรุ่งนี้ที่สดใส ยิ่งคิดย้อนกลับไปยิ่งรู้สึกสยอง”
“ไหนเล่นมุกนั้นให้ฟังอีกรอบหน่อย ที่เกี่ยวกับหนังดังต่างประเทศ ‘Flying Star Journey’ หนังบล็อกบัสเตอร์ต่างชาติของจริงมาแล้ว!’ น่ะ ฮ่าๆๆๆ”
“เห็นว่าผู้ชมต่างชาติคงไม่ตามืดบอดเหมือนเราไม่ใช่เหรอ แต่ทำไมโรงหนังต่างประเทศยืดเวลาฉายวันพรุ่งนี้ที่สดใสกันหมดเลยล่ะ รอบฉายก็เพิ่มขึ้นด้วย ขอเตือนชาวต่างชาติทุกคนอย่างจริงจังอีกรอบเลยนะว่าพวกคุณกำลังจะถูกถอนสัญชาติถ้าดูหนังเรื่องนี้ รับผิดชอบความเสี่ยงกันเองนะ!”
…
คอมเมนต์แนวๆ นี้กระจายอยู่ทุกที่ตามกระทู้ต่างๆ กระทู้และโพสต์มากมายของพวกแอนตี้ถูกขุดกลับขึ้นมาขยี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก
พวกแอนตี้ที่โดนถล่มทำอะไรไม่ได้นอกจากลบคอมเมนต์หรือกดซ่อนให้หมด ส่วนใหญ่แกล้งตายหายจากโลกนี้
แย่หน่อยนะที่หัวเราะทีหลังดังกว่า!
ก่อนหน้านี้พวกแอนตี้เอาเรื่องที่วันพรุ่งนี้ที่สดใสไปได้ไม่สวยในตลาดต่างประเทศมาขยี้กันยกใหญ่ จนกลายเป็นหลักฐานตอกย้ำว่ามีแค่ชาวจีนที่ชอบหนังเรื่องนี้ ชาวต่างชาติไม่ได้ชอบเลยสักนิด
แต่รางวัลที่หนังได้จากคานส์นั้นมีน้ำหนักมากกว่า กลายเป็นพลิกสถานการณ์จนกลับตาลปัตร คอมเมนต์ของพวกแอนตี้เลยกลายเป็นระเบิดสังหารตัวเอง!
เผยเชียนเอนหลังพิงเก้าอี้ เขาพูดอะไรไม่ออก
ไม่ใช่ว่าเขาอยากอ่านคอมเมนต์เหล่านี้ แต่เป็นเพราะเขาไม่มีทางเลือก!
ทุกคนบนอินเทอร์เน็ตกำลังถกกันเรื่องหนัง ถึงจะอยากดูสาวๆ บนเว่ยป๋อ แต่หน้าฟีดก็เต็มไปด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับวันพรุ่งนี้ที่สดใส เขาถูกล้อมโจมตีทุกทิศทาง ศพของพวกแอนตี้นอนเกลื่อนเต็มอินเทอร์เน็ตให้คนเหยียบขยี้ซ้ำ น่าหดหู่สุดๆ
เผยเชียนไว้อาลัยให้เหล่านักรบผู้กล้าหาญในใจ
“พวกนายคงทรมานกันมาก! ฉันจะชำระหนี้แค้นให้พวกนายด้วยหนังเรื่องหน้า! เชื่อใจในตัวฉันอีกครั้งด้วยนะ!”
ระหว่างที่กำลังอ่านโพสต์อันดุเดือด เผยเชียนก็อดคิดขึ้นมาไม่ได้ว่ากระแสวันพรุ่งนี้ที่สดใสควรจะซาไปได้แล้ว
กระแสอยู่นานเกินไปแล้ว!
ไม่คิดเลยว่ากระแสของหนังจะอยู่ยงคงกระพันขนาดนี้ ออกฉายเดือนกุมภาพันธ์ แต่จนถึงตอนนี้กระแสในอินเทอร์เน็ตยังไม่ซาเลย
ที่น่าหงุดหงิดที่สุดคือกระแสของหนังบนโลกออนไลน์ทำให้ยอดขายและยอดวิวของวันพรุ่งนี้ที่สดใสบนเว็บอ้ายลี่เต่าเพิ่มขึ้น
เผยเชียนงงมาก ปานนี้แล้วทำไมยังมีคนดูกลุ่มใหม่เพิ่มขึ้นอีก
แต่ก็ไม่เป็นไร ฝันร้ายใกล้จบแล้ว
เขาเคยฝันร้ายแบบนี้มาแล้วครั้งนึง รางวัลเทศกาลหนังนานาชาติก็ได้ไปแล้ว เดี๋ยวเรื่องทุกอย่างก็ซาลงแล้วแหละมั้ง
ทุกคนอวยหนังจนหมดทุกซอกทุกมุมแล้ว ถึงเวลาปิดฝาโลงให้หนังหายไปจากโลกนี้เสียที
เผยเชียนตัดสินใจเลิกสนใจเรื่องนี้แล้วปล่อยให้มันซาไปเอง
แต่จังหวะที่กำลังจะกดปิดเว็บเบราว์เซอร์ สายตาเขาก็สังเกตเห็นโพสต์หนึ่ง
‘ทำไมวันพรุ่งนี้ที่สดใสถึงได้ Jury Prize’
เผยเชียนอดถอนหายใจไม่ได้ เฮ้อ โพสต์อวยวันพรุ่งนี้ที่สดใสอีกแล้ว
เห็นมาเป็นพันโพสต์แล้วเนี่ย
ตอนวันพรุ่งนี้ที่สดใสได้ Jury Prize ชาวเน็ตต่างพยายามเกาะกระแสหนังด้วยการเขียนโพสต์ต่างๆ ออกมา พวกเขาชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของคานส์และ Jury Prize อธิบายคร่าวๆ ถึงหนังจีนที่เคยได้รางวัลนี้มาก่อน และวิเคราะห์ว่าทำไมวันพรุ่งนี้ที่สดใสถึงตรงกับรสนิยมของกรรมการคานส์และได้รับรางวัลมา ขณะเดียวกันบางโพสต์ก็ยกความหมายเบื้องลึกและคุณภาพงานศิลป์ของหนังกลับมาพูดใหม่อีก
เผยเชียนอ่านโพสต์คล้ายกันนี้มามากมายจึงไม่ได้สนใจโพสต์นี้
แต่โพสต์นี้ดูจะได้รับความนิยมมากกว่าที่คิดไว้ หลังจากลังเลอยู่พักหนึ่ง เผยเชียนก็กดเข้าไปอ่าน
พออ่านประโยคแรก เผยเชียนก็แทบลมจับ
…
“หลังจากอ่านหัวข้อโพสต์ ทุกคนคิดใช่มั้ยว่าฉันจะอธิบายว่าทำไมวันพรุ่งนี้ที่สดใสถึงได้รางวัล Jury Prize
“ถ้างั้นก็คิดผิด!
“ฉันแค่อยากตั้งคำถามว่า ทำไมวันพรุ่งนี้ที่สดใสถึงได้ Jury Prize และไม่ได้ Palme d’Or
“ทุกคนรู้ว่าเทศกาลหนังเมืองคานส์ปีนี้ วันพรุ่งนี้ที่สดใสได้ Jury Prize ส่วนลุงบุญมีระลึกชาติ หนังสัญชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คว้ารางวัล Palme d’Or ไป
“หลายคนดีใจมากหลังรู้ว่าวันพรุ่งนี้ที่สดใสได้ Jury Prize แต่มีไม่กี่คนที่ตั้งคำถามว่าทำไมวันพรุ่งนี้ที่สดใสไม่ได้ Palme d’Or
“จริงๆ แล้วถ้าเทียบดูก็จะรู้ว่าวันพรุ่งนี้ที่สดใสกับลุงบุญมีระลึกชาตินั้นมีหลายอย่างที่เหมือนกัน
“ลุงบุญมีระลึกชาติเล่าเรื่องชาวนาผู้ยากไร้ที่เริ่มเห็นวิญญาณของสมาชิกครอบครัวที่ล่วงลับไปแล้วหลังพบว่าตัวเองเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายจึงเริ่มออกตามวิญญาณเหล่านั้นไปเพื่อระลึกอดีตชาติของตัวเอง
“หนังเรื่องนี้ใช้นักแสดงหลายคนที่ไม่ใช่นักแสดงอาชีพ บทสนทนาระหว่างตัวละครส่วนใหญ่ก็ด้นสดเอา แถมยังตัดต่อแค่เล็กน้อย ส่วนใหญ่ใช้การถ่ายแบบลองเทก
“ลุงบุญมีระลึกชาติมีองค์ประกอบเกี่ยวกับเรื่องเชิงเหนือธรรมชาติและดูจะตรงกับรสนิยมงานศิลป์ของกรรมการคานส์มากกว่า แต่ก็ต้องยอมรับว่าเทียบกับวันพรุ่งนี้ที่สดใสแล้ว ลุงบุญมีระลึกชาติไม่ได้เหนือกว่าในแง่งานศิลป์หรือความหมายแฝงที่ชัดเจน
“ตรงกันข้าม วันพรุ่งนี้ที่สดใสชูประเด็นเรื่องความแตกต่างระหว่างคนรวยกับคนจน การที่เงินเปลี่ยนคนได้ การชักใยชีวิตคนด้วยเงินทุนและเทคโนโลยี และการเปลี่ยนคนเป็นแค่ตัวเลข เทียบกับประเด็นเรื่องเหนือธรรมชาติแล้ว เรื่องต่างๆ ที่กล่าวมาสะท้อนใจคนดูได้ลึกซึ้งกว่า
“ชาวจีนส่วนใหญ่รู้เรื่องเทศกาลหนังเมืองคานส์ไม่ดีพอเลยคิดว่าหนังจีนไม่ตรงกับรสนิยมของกรรมการถึงได้ไม่ชนะรางวัล Palme d’Or แต่นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด!
“สำหรับฉัน กรรมการน่าจะชอบวันพรุ่งนี้ที่สดใสมากกว่าลุงบุญมีระลึกชาติ แหล่งข้อมูลไม่เป็นทางการเผยว่ารางวัล Palme d’Or ต้องผ่านการโหวตสามรอบถึงจะได้ผล
“เห็นได้ชัดว่ารางวัลที่ดูชัดเจนนี้เด็ดขาดผ่านการบิดเบือนที่เรามองไม่เห็น
“ดูจากการที่ชนะ Jury Prize ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นรางวัลอันดับสองของเทศกาล วันพรุ่งนี้ที่สดใสน่าจะเป็นหนึ่งในผู้เข้าชิงในสามรอบของการโหวตด้วย
“เพราะงั้นฉันเลยมีคำถามนี้ขึ้นมา ทำไมวันพรุ่งนี้ที่สดใสไม่ได้ Palme d’Or
“ถ้าเห็นด้วยกับจุดนี้ขอให้อ่านต่อไป nᴏveʟɢu.ᴄᴏᴍ
“สำหรับฉัน มีอยู่สองเหตุผลที่ทำให้วันพรุ่งนี้ที่สดใสแพ้ให้กับลุงบุญมีระลึกชาติไปแบบเฉียดฉิว
“เหตุผลแรก เทศกาลหนังนานาชาติมีกฎที่ไม่ต้องบอกก็รู้ๆ กันอยู่ อย่างที่เรารู้เทศกาลหนังนานาชาติชอบหนังที่ฉายในเทศกาลของตัวเองมากกว่า เพราะช่วยให้มีหนังดีๆ ฉายในงานและช่วยรักษาคุณค่าของรางวัล
“เทศกาลหนังเมืองคานส์ไม่รับเสนอชื่อหนังที่ชนะรางวัลในเทศกาลหนังอื่น หรือหนังที่เป็นที่รู้จักดีอยู่ก่อนแล้ว เพราะจะเท่ากับปล่อยให้คนอื่นมาหากินกับชื่อตัวเอง ซึ่งไม่ยุติธรรมกับผู้กำกับที่เป็นเหมือน ‘ลูกในไส้’ หรือก็คือผู้กำกับที่ทำหนังมาฉายที่งานมานานหลายปี
“เว้นแต่ว่าจะเป็นหนังที่คุณภาพยอดเยี่ยมจริงๆ
“วันพรุ่งนี้ที่สดใสบังเอิญฉายที่ต่างประเทศพอดี ประกอบกับยอดขายตั๋วที่ย่ำแย่และคนไม่ค่อยสนใจ ทำให้หนังโชคดีได้เสนอชื่อเข้าร่วมงานและชนะรางวัลไปด้วยคุณภาพอันยอดเยี่ยม
“แต่ไม่ว่าจะยังไง หนังก็ไม่ได้ฉายที่คานส์ ทำให้คะแนนของวันพรุ่งนี้ที่สดใสลดลงในสายตาของกรรมการ
“เหตุผลที่สองเป็นการคาดเดาของฉันล้วนๆ ฉันจะเขียนออกมาตามที่คิด ทุกคนก็ใช้วิจารณญาณในการอ่านเอานะ
“เนื้อหาในช่วงแรกของวันพรุ่งนี้ที่สดใสตรงกับรสนิยมของกรรมการ แต่ติดปัญหาตรงที่… จำฉากหลังจบเครดิตท้ายเรื่องได้มั้ย ฉากที่มีปืนถูกทิ้งไว้หน้าทางเข้าที่พักของตัวเอก
“กรรมการจะชอบฉากนี้หรือเปล่า… ทุกคนตัดสินกันเองแล้วกัน
“บางทีถ้าไม่มีฉากนี้ วันพรุ่งนี้ที่สดใสน่าจะมีโอกาสชนะรางวัลมากขึ้น
“สุดท้ายนี้ฉันมีเรื่องน่าสนใจอยากแชร์อีกเรื่อง
“รู้จักหนังที่ชนะรางวัล Jury Prize ที่คานส์เมื่อค.ศ.1988 มั้ย สิบสามปีก่อน รางวัลเดียวกับที่วันพรุ่งนี้ที่สดใสได้เลย
“หนังเรื่องนั้นชื่อว่า La vita è bella หรือ Life is Beautiful
“ชื่อภาษาอังกฤษของวันพรุ่งนี้ที่สดใสคือ Tomorrow is Beautiful
“ห่างกันสิบสามปี คุณภาพยอดเยี่ยมเหมือนกัน ชื่อคล้ายกัน ชนะรางวัลเดียวกัน แถมยังดูเหมือนจะมีความเชื่อมโยงบางอย่างระหว่างกัน
“ที่น่าสนใจคือถึง Life is Beautiful จะได้รางวัล Jury Prize แต่หนังก็มีกระแสในกลุ่มแฟนหนังในประเทศดีกว่าหนังที่ได้ Palme d’Or ในปีนั้น
“สรุปคือเราควรดีใจที่วันพรุ่งนี้ที่สดใสชนะรางวัลที่คานส์ แต่เราก็ควรเสียใจที่ได้แค่ Jury Prize หนังเรื่องนี้ควรค่าแก่การยกย่องมากกว่าที่เราคิด เรามาติดตามผลงานเปี่ยมคุณภาพชิ้นต่อๆ ไปของแสงสว่างแห่งวงการหนังจีนอย่างเฟยหวงสตูดิโอด้วยกันเถอะ!”